วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมชนิดต่างๆ และพื้นที่รูปวงกลม

พื้นที่ คือ บริเวณพื้นที่ผิวที่อยู่ภายในขอบเขตที่กำหนดให้ การบอกขนาดของพื้นที่และการหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก การกำหนดหน่วยของพื้นที่อาจทำได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับลักษณะบริเวณของพื้นที่ผิวและหน่วยที่ใช้ในการวัดความยาว
ในการบอกหน่วยของพื้นที่นั้นจะใช้คำว่า "ตาราง" แล้วตามด้วยหน่วยการวัดความยาว เช่น ตารางเมตร ตารางวา เป็นต้น เราสามารถเขียนสัญลักษณ์แทนหน่วยพื้นที่เหล่านี้ได้โดยการย่อคำว่า ตาราง เป็น ตร. แล้วตามด้วยหน่วยการวัดความยาว หรือ ย่อให้อยู่ในรูปหน่วยการวัดความยาวยกกำลังสอง เช่น ตารางเมตร ใช้ตัวย่อเป็น ตร.ม. หรือ ม2
1. การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก 
1.1 การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส

1.2 การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

2. การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

          3. การหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยม


       4. การหาพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมคางหมู


      5. การหาพื้นที่ของรูปวงกลม



ที่มาข้อมูล : หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กระทรวงศึกษาธิการ 2544



รูปสี่เหลี่ยม

รูปสี่เหลี่ยม เป็นรูปปิดที่ประกอบด้วยด้าน 4 ด้านและ มุม 4 มุม โดยมุมภายในทั้งหมดรวมกันมีขนาด 360° หรือ 4 มุมฉาก ชนิดของรูปสี่เหลี่ยมขึ้นอยู่กับขนาดของมุมและขนาดของด้าน

การเรียกชื่อรูปสี่เหลี่ยม นิยมเรียกโดยใช้ตัวอักษรสี่ตัว ซึ่งกำกับจุดยอดมุมของสี่เหลี่ยมนั้น จะเริ่มที่จุดใดก่อนก็ได้ แล้วเรียงไปตามลำดับที่ปรากฏบนรูป 
ส่วนประกอบของรูปสี่เหลี่ยม
ด้านประชิด (adjacent sides) คือ ด้านสองด้านของรูปสี่เหลี่ยมที่มีจุดปลายร่วมกัน 1 จุด
จากรูป รูปสี่เหลี่ยม ABCD มีด้านประชิดกัน 4 คู่ คือ
ด้าน AB กับด้าน BC
ด้าน BC กับด้าน CD
ด้าน CD กับด้าน DA
ด้าน DA กับด้าน AB

ด้านตรงข้าม (opposite sides) คือ ด้านสองด้านของรูปสี่เหลี่ยมที่ไม่มีจุดปลายร่วมกัน รูปสี่เหลี่ยม ABCD มีด้านตรงข้ามกัน 2 คู่ คือ ด้าน AB ตรงข้ามกับด้าน CD และด้าน AD ตรงข้ามกับด้าน BC

มุมประชิด (adjacent angles) คือ มุมสองมุมของรูปสี่เหลี่ยมที่มีแขนของมุมร่วมกันอยู่แขนหนึ่ง
จากรูป รูปสี่เหลี่ยม ABCD มีมุมประชิด 4 คู่ คือ
A C กับ B D
B D กับ C A
C A กับ D B
D B กับ A C

มุมตรงข้าม (opposite angles) คือ มุมสองมุมของรูปสี่เหลี่ยมที่ไม่มีแขนของมุมร่วมกัน รูปสี่เหลี่ยม ABCD มีมุมตรงข้าม 2 คู่ คือ A C ตรงข้ามกับ A C และ B D ตรงข้ามกับ B D

มุมภายในของรูปสี่เหลี่ยม จากรูป ABCD จะมี A C และ B D และ C A และ D B เป็นมุมภายในของ ABCD ซึ่งขนาดของมุมภายในทั้งสี่รวมกันได้ 360°

เส้นทแยงมุม (diagonal) คือ ส่วนของเส้นตรงที่มีจุดปลายทั้งสองอยู่ที่จุดยอดของมุมตรงข้าม รูปสี่เหลี่ยม ABCD มีเส้นทแยงมุม 2 เส้น คือ AC และ BD
           
ชนิดของรูปสี่เหลี่ยม
     สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราประกอบไปด้วยรูปทรงที่น่าสนใจหลายชนิด รูปสี่เหลี่ยมก็เป็นรูปหนึ่งที่ทุกคนสามารถพบเห็นได้ทั่วๆ ไป เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เตียง ฯลฯ บางครั้งเราจะเห็นว่าสี่เหลี่ยมมีรูปแบบต่างๆ กันออกไป 

รูปสี่เหลี่ยมชนิดต่างๆ สมบัติต่างกันดังนี้



ที่มาข้อมูล : หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กระทรวงศึกษาธิการ 2544


รูปสามเหลี่ยม

รูปสามเหลี่ยม เป็นรูปปิดซึ่งประกอบด้วย ด้านสามด้าน และมุมสามมุม โดยมุมภายในทั้งสามมุมรวมกันได้ 180 องศา




ΔABC หรือ ΔACB หรือ ΔBAC หรือ ΔBCA หรือ ΔCAB หรือ ΔCBA


การเรียกชื่อรูปสามเหลี่ยมจะเรียกตามชื่อตัวอักษรที่อยู่ที่มุมทั้งสาม จะเริ่มจุดใดก่อนก็ได้ จากรูป เรียกว่า รูปสามเหลี่ยม ABC เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ ΔABC

ส่วนประกอบของรูปสามเหลี่ยม
ฐาน   เป็นด้านด้านหนึ่งของรูปสามเหลี่ยมที่กำหนดให้เป็นฐาน
มุมยอด   เป็นมุมที่อยู่ตรงกันข้ามกับฐาน
มุมที่ฐาน   เป็นมุมที่จุดปลายทั้งสองข้างของด้านที่เป็นฐาน
ด้านประกอบมุมยอด   คือ ด้านแต่ละด้านที่ประกอบกันเป็นมุมยอด
ส่วนสูง    คือ เส้นที่ลากจากมุมยอดมาตั้งฉากกับฐาน





ชนิดของรูปสามเหลี่ยม

          ในการเรียกชื่อรูปสามเหลี่ยมเราสามารถเรียกตามลักษณะของความยาวของด้าน หรือขนาดของมุมโดยแบ่งเป็น ลักษณะ ดังนี้
การเรียกชื่อรูปสามเหลี่ยมตามความยาวของด้าน


การเรียกชื่อรูปสามเหลี่ยมตามขนาดของมุม



ที่มาข้อมูล : หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ กระทรวงศึกษาธิการ 2544

กราฟของคู่อันดับ

กราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของกลุ่มหนึ่งกับสมาชิกของอีกกลุ่มหนึ่ง
การเขียนเส้นจำนวนในแนวนอนและแนวตั้ง ให้ตัดกันเป็นมุมฉากที่จุดซึ่งแทนศูนย์ (0) ดังนี้

           จุดที่เส้นจำนวนทั้งสองตัดกันเรียกว่า จุดกำเนิด นิยมแทนด้วย 0
เส้นจำนวนในแนวนอน เรียกว่า
 แกนนอน และเส้นจำนวนในแนวตั้ง เรียกว่า แกนตั้ง
         การเขียนกราฟจะใช้เส้นจำนวนสองเส้นนี้ซึ่งอยู่บนระนาบเดียวกัน และเรียกระนาบนี้ว่า ระนาบจำนวน ระนาบจำนวนจะถูกแบ่งออกเป็น ส่วน แต่ละส่วนเรียกว่า  "จตุภาค"    จุดแต่ละจุดที่อยู่บนระนาบจำนวน จะแทนคู่อันดับเพียงคู่เดียว สมาชิกตัวแรกของคู่อันดับแสดงจำนวนอยู่บนแกน X และสมาชิกตัวหลังของคู่อันดับ แสดงจำนวนที่อยู่บนแกน Y 
        เมื่อ A เป็นจุดหนึ่งบนระนาบจำนวนที่แสดงคู่อันดับ (x, y) ซึ่งเขียนแทนด้วย A(x,y) เรียกจุด A ว่า พิกัดเป็น (x, y) 
    

จากกราฟของคู่อันดับข้างต้น 

1.            ถ้านับจาก 0 ตามแนวแกนนอนไปทางขวามือ 2 หน่วย จากตำแหน่งนี้นับตามแนวแกนตั้งขึ้น   ไป 3 หน่วย        ก็จะได้ตำแหน่งที่แทน (2, 3)     ซึ่งเป็นตำแหน่งของจุด จุด มีพิกัดเป็น (2, 3)
2.            ถ้านับจาก 0 ตามแนวแกนนอนไปทางขวามือ 3 หน่วย จากตำแหน่งนี้นับตามแนวแกนตั้งขึ้น   ไป 4 หน่วย         ก็จะได้ตำแหน่งที่แทน (3, 4)     ซึ่งเป็นตำแหน่งของจุด จุด มีพิกัดเป็น       (3, 4)
3.            ถ้านับจาก 0 ตามแนวแกนนอนไปทางซ้ายมือ 1 หน่วย จากตำแหน่งนี้นับตามแนวแกนตั้งขึ้น   ไป 1 หน่วย         ก็จะได้ตำแหน่งที่แทน (-1, 1)   ซึ่งเป็นตำแหน่งของจุด จุด มีพิกัดเป็น         (-1, 1)
4.           ถ้านับจาก 0 ตามแนวแกนนอนไปทางซ้ายมือ 4 หน่วย จากตำแหน่งนี้นับตามแนวแกนตั้งขึ้น     ไป 2 หน่วย     ก็จะได้ตำแหน่งที่แทน  (-4, 2)  ซึ่งเป็นตำแหน่งของจุด จุด มีพิกัดเป็น (-4, 2)
5.          ถ้านับจาก 0 ตามแนวแกนนอนไปทางซ้ายมือ 2 หน่วย  จากตำแหน่งนี้นับตามแนวแกนตั้งลง     มา 3 หน่วย      ก็จะได้ตำแหน่งที่แทน (-2,-3 ) ซึ่งเป็นตำแหน่งของจุด จุด มีพิกัดเป็น (-2, -3)
6.         ถ้านับจาก 0 ตามแนวแกนนอนไปทางขวามือ 1 หน่วย   จากตำแหน่งนี้นับตามแนวแกนตั้งลงมา 4 หน่วย            ก็จะได้ตำแหน่งที่แทน (1, -4)      ซึ่งเป็นตำแหน่งของจุด จุด มีพิกัดเป็น (1, -4)
7.     ถ้านับจาก 0   ตามแนวแกนนอนไปทางขวามือ 3 หน่วย        จากตำแหน่งนี้นับตามแนวแกนลงมา 2 หน่วย           ก็จะได้ตำแหน่งที่แทน (3, -2)  ซึ่งเป็นตำแหน่งของจุด  จุด G   มีพิกัดเป็น      (3, -2)

  ทดสอบความเข้าใจด้วยการเขียนกราฟแสดงคู่อันดับ และแต่ละจุดมีพิกัดเท่าใด ?


เขียนกราฟของคู่อันดับ และเขียนคู่อันดับพร้อมบอกพิกัดของจุด P, Q, R, S, T, U ได้ดังนี้




ที่มาข้อมูล : หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ กระทรวงศึกษาธิการ 2544
http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=79112  11 กันยายน 2556

การใช้คู่อันดับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของกลุ่มหนึ่งกับสมาชิกของอีกกลุ่มหนึ่ง



ตัวอย่างที่ 1 ในตารางต่อไปนี้



เขียนแผนภาพ แสดงการจับคู่ ได้ดังนี้


เขียนคู่อันดับ แสดงการอ่านและบอกความหมาย ได้ดังนี้



ตัวอย่างที่ 2 จากแผนภาพที่กำหนดให้ จงเขียนคู่อันดับ และกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนดินสอและราคา
วิธีทำ แผนภาพแสดงการจับคู่ระหว่างจำนวนดินสอและราคา ได้ดังนี้


เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนดินสอกับราคา ได้ดังนี้ 



    ข้อสังเกต : 
1.             ในการเขียนกราฟของคู่อันดับ ให้แกนนอนเป็นแกนแสดงสมาชิกตัวที่หนึ่ง และแกนตั้งเป็นแกนแสดงสมาชิกตัวที่สองของคู่อันดับ
2.            กราฟของราคาดินสอต่อเป็นเส้นไม่ได้ เพราะจำนวนดินสอเป็นจำนวนนับ   หรือเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนดินสอกับราคา โดยการเขียนคู่อันดับที่จุด เช่น

ทดสอบความเข้าใจด้วยการเขียนกราฟแสดงคู่อันดับ จากแผนภาพต่อไปนี้




เขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนลูกโป่งกับราคา ได้ดังนี้ 





เขียนคู่อันดับ แสดงการอ่าน และบอกความหมาย ได้ดังนี้




ที่มาข้อมูล : หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ กระทรวงศึกษาธิการ 2544
http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=79111  11 กันยายน 2556




วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

ความหมายของคู่อันดับ

ในชีวิตประจำวันของเรา มักจะพบสิ่งที่เป็นคู่เสมอ เช่น ดวงอาทิตย์คู่กับดวงจันทร์ 
ลองพิจารณาแล้วโยงจับคู่ต่อไปนี้

ต่อไปให้พิจารณา ตารางต่อไปนี้


จากตารางข้างต้น  เราสามารถนำมาเขียนแผนภาพแสดงคู่อันดับระหว่างปริมาณนมจืดเป็นกล่อง กับราคา ได้ดังนี้


                  จากตารางและแผนภาพข้างต้น ประกอบด้วยกลุ่ม 2 กลุ่ม โดยกลุ่มที่หนึ่งมีชมาชิกที่แสดงปริมาณนมจืดเป็นกล่อง และกลุ่มที่สองมีสมาชิกที่แสดงราคานมจืดเป็นบาท จะเห็นว่า มีการจับคู่ระหว่างสมาชิกของกลุ่มที่หนึ่งกับสมาชิกของกลุ่มที่สอง คือ 1 กับ 8, 2 กับ 16, 3 กับ 24, 4 กับ 32, 5 กับ 40

การเขียนแสดงการจับคู่ โดยใช้สัญลักษณ์ได้ดังนี้



จาก (1, 8) จะเห็นว่า เป็นสมาชิกตัวที่ และ เป็นสมาชิกตัวที่สอง
สัญลักษณ์ (1, 8) อ่านว่า คู่อันดับหนึ่ง แปด
หรือ การอ่านสัญลักษณ์ของคู่อันดับต่อไปนี้ เช่น
สัญลักษณ์ (2, 10) อ่านว่า คู่อันดับสอง สิบ
สัญลักษณ์ (4, 24) อ่านว่า คู่อันดับสี่ ยี่สิบสี่ เป็นต้น
การใช้คู่อันดับแสดงการจับคู่ระหว่างสมาชิกของกลุ่มที่หนึ่งกับสมาชิกของกลุ่มที่สองนั้น จะต้องมีข้อตกลงว่า สมาชิกของกลุ่มที่หนึ่งและสมาชิกของกลุ่มที่สองแสดงอะไร
จากตัวอย่างข้างต้นนั้น สมาชิกของกลุ่มที่หนึ่ง เป็นกลุ่มของจำนวนกล่องนมจืด สมาชิกของกลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มของราคานมจืด 
ดังนั้น (1, 8) จึงมีความหมายว่า นมจืด กล่อง มีราคา บาท
จากคู่อันดับข้างต้นนี้ ถ้ามีข้อตกลงว่า สมาชิกกลุ่มที่หนึ่ง คือ จำนวนกล่องของนมถั่วเหลือง สมาชิกตัวที่สอง คือ ราคา ถ้าเปลี่ยนอันดับของสมาชิกในคู่อันดับจะทำให้ความหมายเปลี่ยนไป เช่น (1, 8) เปลี่ยนคู่อันดับเป็น (8, 1) ความหมายจะเปลี่ยนไปกลายเป็น คือ จำนวนกล่องของนมจืด คือ ราคาของนมจืด ดังนั้น เราจะเปลี่ยนอันดับไม่ได้ เมื่อมีข้อตกลงไว้แล้ว


ที่มาข้อมูล : หนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ กระทรวงศึกษาธิการ 2544